Sunday, 16 March 2014

***Mar 16, 2014 - ต้องเริ่มฝึกใหม่หมดอีกล่ะ

ตอนนี้กำลังอ่านเรื่อง The Talent Code กะ 52 วิธีเปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นอัจฉริยะ แปลกดี และสนุกดี สไตล์คล้ายๆ กับ Outliners เลย แต่อันนี้เขียนโดย Daniel Coyle ซึ่งอ่านแล้วมันก็ตรงดี มีหลักการดี ทำให้เราคิดว่าน่าจะต้องมาปรับวิธีการฝึกฝนใหม่อีกครั้ง

คำคมโดนใจประจำเล่ม
"พรสวรรค์มีค่าพอๆ กับเกลือนั่นแหละ สิ่งที่แบ่งแยกระหว่างผู้มีพรสวรรค์กับผู้ที่ประสบความสำเร็จจริงๆ คือ ความมุ่งมั่นและการฝึกฝนต่างหาก" - สตีเฟน คิง
"ความเป็นเลิศถือเป็นนิสัยอย่างหนึ่ง" - อริสโตเติล

นิยามของคำว่า เก่งกาจ (Talent) คือ การครอบครองทักษะที่สามารถทำซ้ำได้โดยไม่ขึ้นอยู่กับขนาดของร่างกาย (Physical) เพราะฉะนั้น => เป้าหมายของเรา ก็คือ "ต้องครอบครองทักษะที่สามารถทำซ้ำได้"
แล้วทักษะ คือ อะไร?
ทักษะ คือ ฉนวนที่ห่อหุ้มวงจรประสาทและเติบโตไปตามสัญญาณบางอย่างที่ได้รับ

สรุปว่า เรา คือ มนุษย์ไมอีลินนั่นเอง 555
ถ้ามีเวลาจะมีเขียนเรื่องนี้ต่อ ค้างไว้ก่อน

ขอทิ้ง Outline เอาไว้ก่อน

การฝึกฝนอย่างล้ำลึก
จุดกลมกล่อม "ความผิดพลาดจะทำให้เราเก่งขึ้น"

=> การพยายามดิ้นรนด้วยแนวทางที่มีเป้าหมายชัดเจน (โดยฝึกฝนตรงบริเวณสุดขอบความสามารถ ซึ่งคุณมักจะทำผิดพลาด) จะทำให้คุณเก่งขึ้น พูดง่ายๆ ก็คือ เมื่อคุณถูกบีบให้เคลื่อนไหวช้าลง ทำผิดพลาด และพยายามแก้ไข (แบบเดียวกับเวลาที่คุณพยายามเดินพื้นน้ำแข็งที่ลื่นๆ ซึ่งต้องล้มลุกคลุกคลานไปตลอดทาง) ในที่สุดคุณก็จะเคลื่อนไหวได้อยา่งปราดเปรียวและสง่างามโดยที่ไม่รู้ตัว)
=> ณ วินาที ที่คุณตกอยู่ในสถานการณ์ที่... บางสิ่งที่ล้ำลึกและอยู่นอกเหนือขอบเขตการรับรู้ของคุณก็เริ่มทำงาน คุณหยุดและสะดุดอยู่แวบหนึ่ง จากนั้นก็พยายามหาคำตอบ คุณเผชิญกับการกระเสือกกระสนในเสี้ยววินาทีและชั่วเวลาเสี้ยววินาทีนี้แหละที่สร้างความแตกต่างอย่างมหาศาล คุณไม่ได้ฝึกฝนหนักขึ้น แต่คุณกำลังฝึกฝนอย่างล้ำลึกขึ้นต่างหาก
=> ระหว่างที่เราฝึกฝนอย่างล้ำลึก โลกจะไม่ดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ปกติ เราจะใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ความพยายามเพียงเล็กน้อยของเราจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่และยั่งยืน... เคล็บลับสำคัญอยู่ที่การเลือกเป้าหมายให้เกินขอบเขตความสามารถในปัจจุบันไปเล็กน้อย... เลือกเป้าหมายที่ต้องดิ้นรนพยายามจึงจะทำสำเร็จ (คุณจะไม่ได้อะไรจากการตะบี้ตะบันฝึกอย่างไร้ทิศทางหรอกครับ คุณต้องเอื้อมมือออกไปคว้าเป้าหมายที่ต้องการต่างหาก)
=> หัวใจสำคัญคือการค้นหาจุดกลมกล่อม (sweet spot) ครับ "ที่จุดดังกล่าว ช่องว่างระหว่างสิ่งที่คุณทำได้แล้วกับสิ่งที่คุณอยากทำให้ได้นั้นจะมีขนาดพอเหมาะพอดี คุณค้นพบจุดกลมกล่อมเมื่อไหร่ การเรียนรู้ก็จะแล่นฉิว"

กฎเหล็ก วงจรไหนที่ถูกกระตุ้นให้ทำงานบ่อยที่สุดและรุนแรงที่สุด เจ้าตัวติดตั้งเครือข่ายความเร็วสูงก็จะมุ่งไปยังวงจรนั้น ส่งผลให้วงจรประสาทที่ถูกกระตุ้นบ่อยๆ มีเครือข่ายที่ดีกว่า ส่วนวงจรที่ถูกกระตุ้นไม่บ่อยนักและไม่ค่อยรุนแรงก็จะมีเครือข่ายที่ด้อยกว่า

=> กฎ 3 ข้อของการฝึกฝนอย่างล้ำลึก "ลองอีกครั้ง ล้มเหลวอีกครั้ง แต่ล้มเหลวได้ดีขึ้น"
กฎข้อที่1: ว่าด้วยการรวมหน่วย => ทำความรู้จักกับทักษะในภาพรวม, แบ่งย่อยทักษะออกเป็นหน่วยเล็กๆ, ชะลอความเร็ว
กฎข้อที่2: ทำซ้ำ
กฎข้อที่3: ลับประสาทให้คม

วงจรของการฝึก
  1. เลือกเป้าหมาย
  2. พยายามไปให้ถึงเป้าหมาย
  3. ประเมินช่องว่างระหว่างเป้าหมายกับระยะที่เอื้อมถึง
  4. ย้อนกลับไปขั้นแรก


การจุดประกาย 
"ถ้าเธอทำได้ ทำไมฉันจะทำไม่ได้ล่ะ"

=> เหมือนนักเทนนิสจากรัสเซีย นักกอล์ฟจากเกาหลีใต้ หรือนักเบสบอลจากเกาะคูราเซา ยกตัวอย่างให้ชัดเจนเลยก็คือ ถ้าพี่ต้าน คือ คนไทยคนแรกที่ตั้ง Hedge Fund ได้สำเร็จ (รวมถึงเป็น Trader ที่ประสบความสำเร็จในระดับ inter) เด่ว เราก็จะมี trader ที่เป็นคนไทยที่ประสบความสำเร็จตามมาอีกเป็นขโยง เพราะมีพี่ต้านเป็นคนจุดประกาย (และ train ให้ด้วย อุอุ ^ ^) แต่กระนั้นอย่างต่ำก็ต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 5 ปี นับตั้งจากที่เปิดตัว Mudleygroup เพราะว่าการฝึกฝนอย่างล้ำลึกก็ยังต้องใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 10,000 ชั่วโมงขึ้นไปอยู่ดี

=> มีทรัพยกรจำกัด, ขาดแคลน มักนำไปสู่ดิ้นรนเพื่อไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เกิดความคิดสร้างสรรค์ ดีกว่าที่มีทรัพยากรอย่างล้นเหลือ (จิตใต้สำนึกมันจะ anti ว่า แล้วกรูจะพยายามไปเพื่ออะไรฟะ ในเมื่อมันดีพร้อมอยู่แล้ว)

การฝึกสอนระดับปรมาจารย์
"ประเด็นไม่ได้อยู่ที่การเล็งเห็นความเก่งกาจหรอกครับ ผมไม่เคยมองหาคนเก่งเลย ก่อนอื่นเราต้องสอนพื้นฐานเสียก่อน เดี๋ยวก็รู้เองว่ามันจะออกมาเป็นยังไง" - โรเบิร์ต แลนส์ดอร์ป 

1 comment:

  1. -Blog โดนลบไปหลายวัน robot มันดัน report ว่าเป็น spam นึกว่าจะกู้กลับมาไม่ได้ซะล่ะ-

    ReplyDelete